Trucks

ก้าวผ่านขีดจำกัด

รถบรรทุก VNL และ VNR รุ่นใหม่จากวอลโว่ ทรัคส์มาพร้อมเทคโนโลยีตัวรถและสิ่งอำนวยความสะดวกผู้ขับขี่รุ่นล่าสุด นอกจากนี้ยังถูกผลิตขึ้นในโรงงานที่วางมาตรฐานด้านการใส่ใจสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ภายในโรงงาน NRV
ในระหว่างกระบวนการผลิตรถ Volvo VNL และ VNR รุ่นใหม่ โรงงานที่ New River Valley สามารถลดการปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) ลงได้ถึงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่เขียนบทความนี้ แพทริค คอลลิยอน มีตำแหน่งเป็นรองประธานอาวุโสของ Group Trucks Operations ในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่การตีพิมพ์ เขาก็ได้รับตำแหน่งใหม่ภายในวอลโว่ กรุ๊ปแล้ว

ตลอดช่วงสิบห้าปีที่ผ่านมา โรงงานของวอลโว่ ทรัคส์ที่ New River Valley หรือ NRV มีการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นแม่แบบด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการของเสียอย่างมีความรับผิดชอบ ลูกค้าของวอลโว่ ทรัคส์เองก็สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อม

“การให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพและความยั่งยืนนั้นสำคัญต่อพันธกิจในการผลักดันความสำเร็จของโซลูชันด้านระบบขนส่งของเรา” แพทริค คอลลิยอน รองประธานอาวุโสของ Group Trucks Operations สำหรับการผลิตในอเมริกาเหนือ และอดีตผู้จัดการโรงงานที่ NRV กล่าว “ด้วยเหตุนี้ การให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมจึงถูกผสานไว้ภายในโมเดลการจัดการและกระบวนการด้านการตัดสินใจของเรา”

การพัฒนาสู่การเป็นโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ NRV เริ่มต้นขึ้นหลังจากพนักงานกลุ่มหนึ่งตรวจพบและประเมินปริมาณของเสียเป็นจำนวนมากทั้งในรูปของแข็งและของเหลวภายในการปฏิบัติงานที่โรงงาน พวกเขาส่งเสริมให้พนักงานทุกคนรีไซเคิลขยะให้ได้มากที่สุดเพื่อลดปริมาณของเสียที่ส่งไปยังพื้นที่ฝังกลบ

และในปี 2014 โรงงาน NRV ก็ได้บรรลุเป้าหมายที่โดดเด่นที่สุดอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ การเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอน



ของเสียที่มีจำนวนมาก เช่น กระดาษลังและพลาสติกจะถูกบีบอัดรวมเป็นก้อนภายในไซต์ก่อนส่งไปรีไซเคิล ในหลายๆ ส่วนของโรงงาน เริ่มมีการนำอาหารเหลือไปแปรสภาพเป็นปุ๋ย ขณะเดียวกันโรงอาหารก็เปลี่ยนมาใช้ถ้วย ชาม และภาชนะที่ย่อยสลายได้แทน ภายในพื้นที่การดำเนินการผลิต ทีมประสบความสำเร็จในการแยกวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ออกเป็น 22 หมวดหมู่เพื่อการรีไซเคิล นอกจากนี้ ตัวทำละลายสำหรับล้างสีก็ได้รับการนำกลับมากลั่นและผลิตขึ้นใหม่ตามข้อกำหนดต้นแบบ เพื่อนำมาใช้งานซ้ำภายในศูนย์ทำสี

ต่อมาในปี 2009 ฝ่ายบริหารของ NRV ก็ได้กำหนดเป้าหมายที่สูงกว่าเดิม

“สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนคือการลดการใช้พลังงาน เราจึงจัดให้มีกิจกรรมล่าขุมสมบัติเพื่อตามหาการประหยัดพลังงานขึ้นในปีนั้นเป็นปีแรก” คอลลิยอน กล่าว “พลังงานที่ดีที่สุดคือพลังงานที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้มัน และการให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมก็เป็นอะไรที่สนุกมาก”

แผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งตามถนนทางเข้าหลักของโรงงานที่ NRV



พนักงานของโรงงานตอบรับกิจกรรมดังกล่าวด้วยการส่งไอเดียการประหยัดพลังงานนับร้อยๆ รายการ ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน เช่น การปิดไฟตู้ขายของอัตโนมัติ ไปจนถึงการเพิ่มความคล่องตัวให้กระบวนการประกอบ มีการนำเอาแผงพลังงานแสงอาทิตย์มาติดตั้งบริเวณถนนทางเข้าหลัก ช่องหลังคาที่ติดตั้งใหม่ช่วยลดการใช้แสงจากหลอดไฟ และยังมีการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายๆ บริเวณ เช่น โรงอาหารและห้องล็อคเกอร์

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ รวมถึงแนวคิดอื่นๆ ช่วยให้ NRV กลายเป็นโรงงานแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานชั้นนำทั้งในประเทศและในระดับสากลสำหรับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มาตรฐาน ISO 50001 และการยอมรับในระดับแพลตินัมจากโครงการ Superior Energy Performance ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ

นอกเหนือจากการประหยัดพลังงานแล้ว ตอนนี้ NRV ยังเป็นโรงงานที่มีอัตราของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ ซึ่งหมายความว่าของเสียทั้งหมดในกระบวนการผลิตของโรงงานจะถูกนำไปรีไซเคิล หมักทำปุ๋ย หรือแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า

และในปี 2014 โรงงานก็ได้บรรลุเป้าหมายที่โดดเด่นที่สุดอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ การเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอน ทุกวันนี้ พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของโรงงานมาจากก๊าซมีเทนที่ผลิตจากพื้นที่ฝังกลบทั้ง 13 แห่ง

สมาชิกทีมของ NRV ได้รับการสนับสนุนให้นำเสนอไอเดียการประหยัดพลังงานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ในขณะเดียวกัน พร้อมๆ กันกับการทำงานห้องโดยสาร แผงเมทัลลิคขนาดเล็กยังได้รับการทำสีอีกด้วย ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญของงานควบคุมคุณภาพ เมื่อเสร็จแล้ว แผงดังกล่าวจะถูกนำไปยังห้องปฏิบัติการสีเพื่อสอดเข้าในเครื่องวัดความเข้มของแสง (Spectrophotometer) และเปรียบเทียบกับสีหลักในฐานข้อมูลหลัก เนื่องจากสีสันและเฉดสีเป็นจำนวนมากมักดูคล้ายกัน ความผิดเพี้ยนเพียงเล็กๆ น้อยๆ จึงไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยง่ายด้วยสายตาของมนุษย์ หากเครื่องวัดความเข้มของแสงตรวจพบความแตกต่าง จะมีการนำห้องโดยสารกลับสู่สายการผลิตเพื่อทำสีใหม่

“เราจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของความเป็นไปได้เสมอ” คอลลิยอน กล่าว “ในขณะเดียวกัน เราก็จำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบทางด้านการเงิน และตระหนักด้วยว่าสิ่งที่ใช้ได้ผลดีในที่หนึ่งอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะกับอีกแห่งหนึ่งก็ได้”

แรงผลักดันในการพัฒนาประสิทธิภาพของ NRV นั้นยังเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่ทำงานของโรงงานเช่นกัน ก่อนที่จะเริ่มการผลิตรถ VNL และ VNR รุ่นใหม่ โรงงานได้ลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีระบบควบคุมการพ่นสีที่ล้ำหน้าขึ้นกว่าเดิม โดยระบบดังกล่าวไม่ต้องใช้น้ำ รวมถึงใช้พลังงานน้อยลงกว่ากระบวนการเดิมถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ผงหินปูนถูกนำมาใช้เพื่อจับเม็ดสีส่วนเกินจากการพ่น ช่วยลดการจัดการกับตะกอนสี จากนั้นหินปูนของเสียก็จะถูกนำไปใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ 

ด้วยศูนย์พ่นสีและการปรับปรุงใหม่เหล่านี้ อัตราการปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) นั้นลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในการผลิตรถบรรทุกแต่ละคัน อีกทั้งยังมีการนำเอาเทคโนโลยีการพ่นสีแบบใหม่มาใช้ภายในศูนย์ทำสี ซึ่งช่วยลดปริมาณสีที่ใช้พ่นห้องโดยสารแต่ละชุดลงด้วย

ทีมการผลิตเองก็ใช้ประโยชน์จากกระบวนการผลิตแบบใหม่ที่ล้ำหน้าล่าสุดนี้เพื่อประหยัดทั้งพลังงานและเวลาด้วยเช่นกัน เมื่อไม่นานมานี้ NRV ได้เพิ่มหุ่นยนต์ใหม่กว่า 50 ตัวภายในศูนย์เชื่อมตัวถังสีขาว รวมถึงขยายปฏิบัติการด้านการพิมพ์แบบ 3 มิติ ซึ่งสามารถผลิตชิ้นส่วนได้รวดเร็วกว่าระบบการผลิตด้วยเครื่องจักรแบบเดิม

“เรามีเป้าหมายหลายขั้นสำหรับความท้าทายด้านพลังงาน” คอลลิยอน อธิบาย “หนึ่งในนั้นคือพฤติกรรมมนุษย์ เช่น การปิดไฟเมื่อออกจากห้อง หรือไม่ติดเครื่องเดินเบารถบรรทุกนานจนเกินไป อีกส่วนหนึ่งคือการพิจารณากระบวนการผลิตของเรา ยิ่งคุณมีคนคอยตรวจสอบกระบวนการมากเท่าไร ก็ยิ่งมีคนพูดถึงจุดต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น และนั่นก็ช่วยให้การค้นหาทางออกง่ายขึ้น”

เพื่อให้สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างแท้จริงในด้านการใส่ใจสิ่งแวดล้อม คุณจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากฝ่ายบริหาร ต้องมีระบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของพนักงานทุกคน

เพื่อเป็นการสานต่อกระแสด้านการลดใช้พลังงาน ในปี 2011 โรงงานจึงเข้าร่วมโครงการ Save Energy Now ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เป้าหมายของพวกเขาคือลดการใช้พลังงานลงให้ได้ 25 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 10 ปี ซึ่ง NRV สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้หลังจากเข้าร่วมโครงการเพียงปีเดียว

ทุกวันนี้ พนักงานของพวกเขากำลังให้ความสนใจกับเป้าหมายใหม่ในด้านสิ่งแวดล้อม กำลังมีการค้นหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนใหม่เพื่อนำมาทดแทนก๊าซธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันใช้สำหรับระบบให้ความร้อน นอกจากนี้ ทีมยังได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีการในการผลิตพลังงานภายในไซต์เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

“เพื่อให้สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างแท้จริงในด้านการใส่ใจสิ่งแวดล้อม คุณจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากฝ่ายบริหาร ต้องมีระบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของพนักงานทุกคน” คอลลิยอน กล่าว “ผมภูมิใจอย่างมากกับสิ่งที่พวกเราสามารถทำได้ และผมคาดหวังว่าจะบรรลุเป้าหมายสำคัญในครั้งต่อไป”

บทบรรณาธิการ: ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นมา มีการวางโครงสร้างด้านการผลิตของอเมริกาเหนือมาปรับใช้ เพื่อกระตุ้นความคล่องตัวและความยืดหยุ่นตามความต้องการภายในพื้นที่ แฟรงกี้ มาร์แชนด์ รองประธานของโรงงาน New River Valley จะทำงานขึ้นตรงกับ GTO Executive Management Team และ แจน โอลซัน รองประธานกรรมการ แพทริค คอลลิยอน (ในภาพ) จะขึ้นรับหน้าที่ใหม่ภายในวอลโว่ กรุ๊ป

ตอนนี้ NRV ยังเป็นโรงงานที่มีอัตราของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ ซึ่งหมายความว่าของเสียทั้งหมดในกระบวนการผลิตของโรงงานจะถูกนำไปรีไซเคิล หมักทำปุ๋ย หรือแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า

โรงงาน New River Valley

ผลิต รถรุ่น VNL, VNR, VNX, VHD และ VAH
พนักงาน 2,400 คน
พื้นที่ใต้หลังคา 149,000 ตารางเมตร / 1.6 ล้านตารางฟุต
ใช้ระบบไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอน ตั้งแต่ปี 2014
อัตราของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ ตั้งแต่ปี 2013

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Latest Press Release

Latest Press Release