Trucks

การเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำ

เปิดตัวสมาชิกใหม่ในตระกูล I-Shift นั่นคือ I-Shift พร้อมเกียร์ไต่คลาน เกียร์รุ่นใหม่ที่สามารถออกตัวจากจุดหยุดนิ่งได้แม้มีน้ำหนักบรรทุกถึง 325 ตัน
ภาพระยะใกล้ของส่วนประกอบเกียร์ I-Shift
ส่วนประกอบใหม่หลายๆ ชิ้นภายในเกียร์ I-Shift รุ่นใหม่ล้วนผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงมาก
โจนาส ลุนด์มาร์ค ผู้ขนส่งและนักขับทดสอบภาคสนาม เขาขับรถที่มีเกียร์ I-Shift รุ่นใหม่มาเป็นระยะทางกว่า 250,000 กม. แล้ว

ฤดูกาลที่ปริมาณความต้องการนักขับรถบรรทุกซุงทางตอนเหนือของประเทศสวีเดนเพิ่มขึ้นสูง เริ่มต้นขึ้นเมื่อพื้นดินจับตัวเป็นน้ำแข็ง ความหนาวเย็นอาจเข้าขั้นรุนแรง บ่อยครั้งอุณหภูมิลดต่ำกว่าลบ 30 องศาเซลเซียส แต่ผิวน้ำแข็งกลับทำให้นักขับควบคุมรถบนถนนในป่าได้ง่ายยิ่งขึ้น ช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงกลับมีความท้าทายยิ่งกว่า เพราะฝนและน้ำแข็งที่ละลายบนพื้นผิวถนนทำให้ยากต่อการควบคุมรถบรรทุกซุงที่มีความยาวถึง 24 เมตร

"สภาพอากาศเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา เมื่อมีน้ำนองทั่วผืนป่าเรามักต้องขับไปบนถนนที่แคบและในบริเวณที่ยากต่อการควบคุม" โจนาส ลุนด์มาร์ค คนขับรถ ซึ่งเพิ่งบรรทุกของขึ้นรถบรรทุกซุงของเขาเสร็จเรียบร้อยกล่าว

รถบรรทุกที่มีน้ำหนักบรรทุกเต็ม มีน้ำหนักถึง 64 ตัน แน่นอนว่าการสตาร์ทรถที่บรรทุกของหนักมากเช่นนั้นท่ามกลางผืนป่าลึกในสวีเดนอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ โจนาสปีนขึ้นไปในห้องคนขับและปรับเกียร์ใน I-Shift ใหม่พร้อมเกียร์ไต่คลานของวอลโว่ ทรัคส์ให้เป็นเกียร์ต่ำสุด เมื่อเขาแตะคันเร่งเบาๆ รถบรรทุกเริ่มเคลื่อนตัวไปข้างหน้าอย่างช้าๆ

"เกียร์ I-Shift รุ่นใหม่มาพร้อมเกียร์ไต่คลานสองเกียร์ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในยามที่ผมต้องสตาร์ทรถบรรทุกที่มีของหนักมากในสภาพงานที่ทรหด" โจนาสกล่าว

เกียร์ I-Shift รุ่นใหม่มาพร้อมเกียร์ไต่คลานสองเกียร์ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในยามที่ผมต้องสตาร์ทรถที่บรรทุกของหนักมากสำหรับสภาพงานที่ทรหด

เขาเป็นหนึ่งในนักขับที่ทำการทดสอบภาคสนาม ซึ่งได้ทดสอบการใช้ระบบเกียร์ใหม่เมื่อ 18 เดือนก่อน

"เราทดลองขับไกลถึง 250,000 กิโลเมตรโดยใช้เกียร์รุ่นนี้ และมันทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ"

อัตราส่วนการเปลี่ยนเกียร์ ที่ต่ำที่สุดของเกียร์ไต่คลานสองเกียร์อยู่ที่ 32:1 ซึ่งช้ากว่าเกียร์ I-Shift มาตรฐานถึงสองเท่า นอกจากนี้ เกียร์ของโจนาสยังมีเกียร์ถอยหลังสองเกียร์ ซึ่งมีอัตราส่วนในการเปลี่ยนเกียร์ในเกียร์ถอยหลังที่ต่ำที่สุดอยู่ที่ 37:1 

 

รถบรรทุกสำหรับการทดสอบภาคสนามกว่า 40 คัน จากทั่วโลกได้ถูกนำมาใช้ในการทดสอบระบบเกียร์ใหม่ ตั้งแต่ป่าลึกของสวีเดนไปจนถึงเทือกเขาแอนดิสสูงตระหง่านในทวีปอเมริกาใต้
เกียร์ I-Shift รุ่นใหม่ช่วยให้รถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักจนเต็มสามารถออกตัวได้จากจุดหยุดนิ่ง เพียงแค่แตะคันเร่งเบาๆ เท่านั้น

ในบางสถานการณ์ เมื่อสภาพผิวถนนแย่ ผมพบว่าเกียร์ถอยหลังมีประโยชน์มาก เกียร์ชนิดนี้ช่วยให้ผมถอยรถที่มีน้ำหนักบรรทุกมากได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน" โจนาสกล่าว

ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติเลยสำหรับโจนาสที่จะต้องบรรทุกไม้ซุงขณะจอดอยู่บนถนนในป่าที่มีสภาพย่ำแย่ระหว่างอยู่บนพื้นที่ลาดเอียง ก่อนหน้านี้ เมื่อโจนาสขับรถบรรทุกที่ใช้เกียร์ I-Shift มาตรฐาน เขาต้องใช้ฟังก์ชันการออกตัวกระชากของระบบเกียร์เพื่อช่วยในการเคลื่อนตัว

"ในบริเวณทางลาดชันหรือผิวถนนที่ไม่ราบเรียบ ระบบการออกตัวที่มีประสิทธิภาพคือตัวเลือกเดียวในการสตาร์ทรถ นั่นหมายความว่าผมต้องเร่งเครื่องยนต์ให้ได้ความเร็วรอบสูงแล้วปล่อยคลัตช์ด้วยตนเอง ปกติแล้ววิธีนี้จะได้ผล แต่มันอาจทำให้เกิดการสึกหรอของระบบขับเคลื่อน และเกิดปัญหาเรื่องล้อที่หมุนอยู่ได้ แต่เมื่อมีระบบเกียร์ใหม่นี้ สิ่งที่ผมต้องทำคือแค่เลือกเกียร์สตาร์ทที่ถูกต้องแล้วค่อยๆ ออกตัว ซึ่งช่วยลดการสึกหรอของระบบขับเคลื่อนให้เหลือน้อยที่สุด" โจนาสอธิบาย

รถบรรทุกสำหรับการทดสอบภาคสนามกว่า 40 คัน จากทั่วโลกได้ถูกนำมาใช้ในการทดสอบระบบเกียร์ใหม่ ตั้งแต่ป่าลึกของสวีเดนไปจนถึงเทือกเขาแอนดิสสูงตระหง่านในทวีปอเมริกาใต้ นิคลาส โอเบิร์ก เป็นวิศวกรที่รับหน้าที่ดูแลการทดสอบนี้ เขารู้สึกยินดีที่ได้รับความร่วมมือจากนักขับทดสอบภาคสนาม

"สภาพความเป็นจริงจะท้าทายและยากลำบากกว่าที่เราจำลองไว้ในห้องแล็บทดสอบมาก ดังนั้นข้อคิดเห็นจากผู้ขับรถบรรทุกอย่างเช่น โจนาส จึงสำคัญอย่างยิ่ง พวกเขาทำงานในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทุกวัน และรู้ดีว่าคุณสมบัติแบบใดที่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สภาพความเป็นจริงจะท้าทายและยากลำบากกว่าที่เราจำลองไว้ในห้องแล็บทดสอบมาก ดังนั้นข้อคิดเห็นจากผู้ขับรถบรรทุกอย่างเช่น โจนาส จึงสำคัญอย่างยิ่ง
วิศวกรทดสอบ นิคลาส โอเบิร์ก คือหนึ่งใน 100 ชีวิตที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเกียร์รุ่นใหม่

นิคลาส โอเบิร์ก คือบุคคลหนึ่งจาก 100 ชีวิตที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเกียร์รุ่นใหม่ เขาอธิบายถึงหลักการที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีนี้ ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของระบบเกียร์ใหม่ การนำชุดลดเกียร์ไปติดตั้งไว้ระหว่างคลัตช์และโครงรถพื้นฐานใน I-Shift มาตรฐานทำให้เราสามารถเพิ่มเกียร์ไต่คลานหนึ่งหรือสองเกียร์และเพิ่มเกียร์ถอยหลังอีกสองเกียร์ได้

"เรายังพัฒนาเบรกเพลารองซึ่งช่วยเวลาเปลี่ยนเกียร์ ทำให้บังคับควบคุมรถที่บรรทุกของหนักในบริเวณที่มีความลาดชันได้ง่ายยิ่งขึ้น" นิคลาส โอเบิร์กอธิบาย

ในระบบเกียร์ใหม่ มีการใส่ชิ้นส่วนหลายชิ้นเข้าไปเพิ่ม ซึ่งรวมถึงล้อเฟือง กระบอกคลัตช์ และซิงโครไนซ์แบบแยก เพื่อช่วยรับมือกับสภาวะการทำงานที่รุนแรง รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมสูงมาก (GCW - Gross Combination Weight) จะต้องมีการติดตั้งเพลากลางเสริมเพื่อให้ได้แรงบิดที่มากขึ้นกว่าเดิม

"เราต้องเพิ่มแรงบิดของเพลากลางเสริมเพื่อคงความสามารถในการสตาร์ทแบบเดิมไว้ เมื่อ GCW เพิ่มขึ้นพร้อมอัตราระบบขับเคลื่อนรวมที่เร็วขึ้น" นิคลาส โอเบิร์กกล่าว "ดังนั้น รถบรรทุกที่มี GCW รวมที่ 65 ตันจึงมีการติดตั้งเพลากลางเสริมเพื่อให้ได้แรงบิดที่ 33,000 รอบต่อนาที เมื่อเทียบกับแรงบิดมาตรฐานที่ 28,000 รอบต่อนาที"

การเปลี่ยนเกียร์ในเกียร์ไต่คลานที่มีอัตราที่ต่ำที่สุดยังเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ รถบรรทุกจึงสามารถออกตัวจากจุดหยุดนิ่งได้บนระดับถนนแม้มีน้ำหนักบรรทุกถึง 325 ตัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำหรับระบบเกียร์อัตโนมัติรถบรรทุกสำหรับงานหนัก

เกียร์ I-Shift พร้อมเกียร์ไต่คลานนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ต้องใช้ความแม่นยำต่างๆ รวมถึงงานก่อสร้างและงานด้านการบำรุงรักษา เนื่องจากเกียร์สามารถทำให้รถเคลื่อนตัวได้ช้าสุดๆ เมื่อบรรทุกน้ำหนักมากด้วย

 

“ยิ่งรถมีน้ำหนักบรรทุกมากและมีสภาพพื้นถนนหรือพื้นผิวแย่ คนขับยิ่งได้ประโยชน์จากการขับรถบรรทุกที่ติดตั้ง I-Shift พร้อมเกียร์ไต่คลาน คนขับสามารถขับรถซึ่งลากน้ำหนักบรรทุกได้มากโดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่ทำให้ต้องหยุดรถโดยไม่จำเป็น" Peter Hardin ผู้จัดการผลิตภัณฑ์รุ่น FM และ FMX ของวอลโว่ ทรัคส์ กล่าว

ยิ่งรถมีน้ำหนักบรรทุกมากและมีสภาพพื้นถนนหรือพื้นผิวแย่ คนขับยิ่งได้ประโยชน์จากการขับรถบรรทุกที่ติดตั้ง I-Shift พร้อมเกียร์ไต่คลาน

ระบบเกียร์แบบใหม่นี้มีอยู่ในเกียร์ไดเรคท์-ไดรฟ์และโอเวอร์ไดรฟ์ในวอลโว่ ทรัคส์ รุ่นเครื่องยนต์ 13 และ 16 ลิตร ใน Volvo FM, FMX, FH และ FH16 ซึ่งหมายถึงคุณสามารถใช้ระบบเกียร์นี้กับภาคการขนส่งประเภทต่างๆ ได้

ระบบเกียร์นี้เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับงานที่ต้องใช้ความแม่นยำต่างๆ รวมถึงงานก่อสร้างและงานด้านการบำรุงรักษา เนื่องจากเกียร์ไต่ตลานสามารถทำให้รถเคลื่อนตัวได้ช้าสุดๆ ได้อีกด้วย

"รถบรรทุกสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็ว 0.5 ถึง 2 กม./ชม. ด้วยระบบเกียร์นี้ ความสามารถในการเคลื่อนตัวได้ช้ามากๆ มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับงานในประเภทดังกล่าว เนื่องจากสามารถขับขี่ด้วยความแม่นยำมากขึ้น เพื่อผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายที่ดียิ่งขึ้น I-Shift ที่มาพร้อมเกียร์ไต่คลานยังช่วยให้สามารถถอยหลังได้ด้วยความเร็วที่ช้ามากอีกด้วย ซึ่งนับเป็นข้อดีอย่างยิ่งหากคุณต้องทำการถอยหลังซึ่งต้องใช้ความแม่นยำสูงอย่างไม่น่าเชื่อ" ปีเตอร์ ฮาร์ดินกล่าว

สำหรับบริษัทรถบรรทุกขนาดเล็กที่ต้องทำงานบนเส้นทางสุดทรหด I-Shift ที่มีเกียร์ไต่คลานให้ความยืดหยุ่นสูงสุด และโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจการขนส่งให้ดียิ่งขึ้น

"ขณะที่เกียร์ไต่คลานทำให้รถบรรทุกสามารถออกตัวได้แม้มีน้ำหนักบรรทุกรวมมากและเผชิญกับสภาวะที่ยากลำบาก เรายังสามารถใช้อัตราทดเพลาท้ายที่ช่วยลด RPM ของเครื่องยนต์ที่ความเร็วบนถนนปกติ ส่งผลให้ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงได้มากขึ้น ซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อบริษัทรถบรรทุกซึ่งดำเนินงานลักษณะนี้" ปีเตอร์ ฮาร์ดินกล่าว

ภายในห้องโดยสาร โจนาส ลุนด์มาร์คนั่งอย่างปลอดภัยอยู่หลังพวงมาลัย เขาทิ้งถนนที่แคบในป่าไว้เบื้องหลัง ในไม่ช้าเขาจะขับเข้าสู่ถนนในชนบท มุ่งตรงไปยังโรงเลื่อยซึ่งเขาจะขนถ่ายสินค้าที่นั่น โจนาสบริหารบริษัทรถบรรทุกร่วมกับพ่อของเขา พร้อมด้วยคนขับรถอีกคนหนึ่ง เขาขับขี่รถเป็นระยะทาง 4,000 กิโลเมตรต่อสัปดาห์

"พวกเราคนขับรถบรรทุกซุง มักพบว่าตกอยู่ในสถานการณ์การขับขี่ที่ต้องการการจัดการอย่างมาก ดังนั้น เราจึงยินดีรับทุกโซลูชันที่จะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น ระบบเกียร์ใหม่ให้ความรู้สึกถึงความปลอดภัยและการควบคุมที่ดียิ่งขึ้น เนื่องจากคุณทราบดีว่าคุณจะสตาร์ทเครื่องได้ง่ายดาย

อัตราส่วนการเปลี่ยนเกียร์ ที่ต่ำที่สุดของเกียร์ไต่คลานสองเกียร์อยู่ที่ 32:1 - ซึ่งช้ากว่าเกียร์ I-Shift มาตรฐานถึงสองเท่า

ลักษณะการทำงาน: I-Shift พร้อมเกียร์ไต่คลาน

อัตราส่วนเกียร์ที่มากขึ้นใน I-Shift ที่มีเกียร์ไต่คลานเป็นผลมาจากการติดตั้งชุดลดเกียร์ใหม่เพิ่มเติมใน I-Shift มาตรฐาน

ชุดลดเกียร์พิเศษ
ชุดลดเกียร์พิเศษติดตั้งไว้ที่ด้านหลังของโครงคลัตช์เกียร์โดยตรง ประกอบด้วยล้อเกียร์พิเศษสองล้อ ล้อหนึ่งอยู่บนเพลาส่งกำลัง ส่วนอีกล้อหนึ่งอยู่บนเพลารอง ชุดลดเกียร์พิเศษช่วยให้เกียร์มีอัตราความเร็วที่มากพอๆ กับ I-Shift มาตรฐานเกือบสองเท่า

ชุดเกียร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพ
เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับชุดลดเกียร์พิเศษ จึงมีการผลิตกระปุกเกียร์ให้มีความยาวมากกว่า I-Shift มาตรฐานถึง 12 ซม. ส่วนประกอบใหม่ๆ หลายชิ้น เช่น ล้อเกียร์ ปลอกเชื่อมต่อ ตัวซิงโครไนซ์แบบแยกล้วนผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงมาก

อัตราทดเกียร์
อัตราทดเกียร์คือความแตกต่างด้านความเร็วระหว่างเพลาส่งกำลังและเพลารองในกระปุกเกียร์ เมื่อมีการเข้าเกียร์สูงที่สุด อัตราส่วนเกียร์บนเกียร์ไดเรคท์-ไดรฟ์จะอยู่ที่ 1:1 ซึ่งหมายความว่าเพลาหมุนในอัตราความเร็วที่เท่ากัน เมื่อใช้เกียร์ต่ำที่สุดใน I-Shift ที่มีเกียร์ไต่คลาน เพลารองจะหมุนช้ากว่าความเร็วของเครื่องยนต์อยู่ 32 รอบ ด้วยอัตราส่วนเกียร์ที่ 32:1

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Latest Press Release

Latest Press Release