Trucks

คืนชีพให้เครื่องยนต์

ที่โรงงานในเมืองเฟล็น เครื่องยนต์ที่หมดสภาพจากรถบรรทุกขนาดใหญ่ได้ถูกนำกลับมาฟื้นชีวิตอีกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นการปรับสภาพแล้ว เครื่องยนต์เหล่านี้จะมีคุณภาพเหมือนใหม่ นอกจากนี้ขั้นตอนดังกล่าวยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงด้วย
ภายในโรงงานที่เฟล็น
เอ็ดเวิร์ด ฟินส์ทอร์ป ช่างปฏิบัติงานกำลังติดตั้งส่วนประกอบเข้ากับเครื่องยนต์รุ่น D13 สำหรับรถบรรทุกวอลโว่ โรงงานในเมืองเฟล็น คือโรงงานปรับสภาพชิ้นส่วนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของวอลโว่ กรุ๊ป โรงงานนี้ยังรับหน้าที่ปรับสภาพเครื่องยนต์สำหรับบริษัทอื่นๆ ด้วย หนึ่งในนั้นคือวอลโว่ ซีอี, วอลโว่ บัส และวอลโว่ เพนตา
ลาส์ แฟนส์ค็อก ผู้จัดการโรงงานปรับสภาพอะไหล่ของวอลโว่ในเมืองเฟล็น ประเทศสวีเดน

ณ ด้านนอกของอาคาร โรงงานอะไหล่วอลโว่ในเมืองเฟล็น ประเทศสวีเดน เครื่องยนต์จำนวนมากถูกห่อด้วยแผ่นพลาสติกสีน้ำเงินเพื่อรอการนำเข้าไปภายในพื้นที่อันอบอุ่นของตัวอาคาร เครื่องยนต์ทั้งหมดที่ถูกส่งมาที่นี่จากตัวแทนวอลโว่ ทรัคส์ทั้งจากทางยุโรปและเอเชีย เครื่องยนต์เหล่านี้คือหนึ่งในอะไหล่แลกเปลี่ยน 40 รายการที่วอลโว่ ทรัคส์ให้บริการแก่ลูกค้าและเป็นชิ้นส่วนที่ใช้เวลาปรับสภาพนานที่สุด

“ต้องใช้เวลาประมาณ 57 ชั่วโมง ตั้งแต่ที่เครื่องยนต์ถูกนำเข้ามาภายในโรงงานจนถึงขั้นตอนการทดสอบและทำสี” ลาส์ แฟนส์ค็อก ผู้จัดการโรงงานในเฟล็นอธิบาย 

กระบวนการปรับสภาพเริ่มต้นที่ขั้นตอนการแยกชิ้นส่วน เครื่องยนต์ทั้งชุดจะถูกแยกส่วนประกอบ ชิ้นส่วนที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้จะถูกส่งไปรีไซเคิล ในขณะที่ชิ้นส่วนที่สามารถปรับสภาพได้จะถูกส่งต่อไปทำความสะอาดและเป่าทราย เมื่อกำจัดความชื้น คราบน้ำมันและสีจนหมดแล้ว ส่วนประกอบก็จะถูกส่งไปยังแผนกเครื่องจักร

มีการใช้เครื่องมือวัดละเอียดเพื่อตรวจสอบเรือนวาล์วที่ควบคุมแรงดันน้ำมันภายในเครื่องยนต์รุ่น D12
ช่างปฏิบัติงาน คริสทีน โซเดอลุนด์ กำลังขัดทำความสะอาดช่องส่งน้ำมันของเพลาข้อเหวี่ยง ขั้นตอนดังกล่าวเป็นหนึ่งในหลายๆ ขั้นตอนสำหรับชิ้นส่วนจำนวนมาก ก่อนที่พวกมันจะถูกนำกลับไปประกอบรวมกันเป็นเครื่องยนต์อีกครั้ง

ที่นี่ พื้นผิวส่วนใหญ่ของชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ฝาสูบ เพลาข้อเหวี่ยง และเสื้อสูบจะได้รับการขัดและกลึงด้วยความแม่นยำและความระมัดระวังสูง 

“แม้เครื่องยนต์แต่ละชิ้นจะถูกส่งมาที่นี่เพื่อเป้าหมายเดียวกัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากเราไม่รู้ว่าเครื่องยนต์เหล่านี้ผ่านการใช้งานมาอย่างไร มันสำคัญที่พวกมันต้องมีพื้นผิวที่เรียบการ” เยอร์เกน คาร์ลซัน ช่างฟื้นสภาพกระบอกสูบกล่าว 

เยอร์เกนมีความรู้ด้านเครื่องยนต์เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับเพื่อนร่วมงานของเขา การปรับสภาพต้องอาศัยทักษะในระดับสูงสุด ที่โรงงานในเฟล็น เครื่องยนต์รถบรรทุกที่ต่างกันกว่า 150-200 รุ่นถูกปรับสภาพสำหรับใช้งานวอลโว่ ทรัคส์

“เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาที่นี่มีอายุระหว่าง 8-9 ปี แต่บางครั้งก็มีเครื่องยนต์ตั้งแต่ปี 1970 หลุดมาบ้างเหมือนกัน แน่นอนว่าเราก็ดูแลเครื่องยนต์เหล่านั้นเป็นอย่างดี” เยอร์เกน คาร์ลซันกล่าวเสริม

ส่วนประกอบเครื่องยนต์แต่ละชิ้นจะได้รับการตรวจสอบหลายขั้นตอน ระหว่างการเดินทางผ่านแผนกต่างๆในโรงงาน เมื่อถึงขั้นตอนการทดสอบ เครื่องยนต์เหล่านี้จะต้องผ่านการทดสอบแบบเดียวกับที่ใช้ทดสอบเครื่องยนต์ที่ผลิตขึ้นมาใหม่ 

“เครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับสภาพแล้วจะมีเงื่อนไขการรับประกันเหมือนกับอะไหล่แท้ของวอลโว่ รวมถึงมีคุณภาพ ความทนทาน และประสิทธิภาพด้านการใช้งานเทียบเท่ากันด้วย” ลาส์ แฟนส์ค็อก กล่าว

เพลาข้อเหวี่ยงสำหรับเครื่องยนต์รุ่น D12 ขณะรอการขัด ระหว่างขั้นตอนการปรับสภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำจัดสิ่งผิดปกติทั้งหมดและปรับสภาพพื้นผิวให้เรียบ

นอกจากชิ้นส่วนทั้งหมดจะได้รับการปรับสภาพหรือแทนที่ด้วยชิ้นส่วนใหม่แล้ว ยังมีการปรับปรุงตามข้อกำหนดล่าสุดสำหรับเครื่องยนต์แต่ละรุ่นโดยเฉพาะด้วย ดังนั้นเครื่องยนต์ทุกชิ้นที่ออกจากโรงงานที่เฟล็นจึงมีสภาพเหมือนใหม่ในทุกรายละเอียด 

“เราตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าทุกส่วนประกอบ ตั้งแต่ท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปจนถึงระบบซอฟต์แวร์ ผ่านการปรับปรุงอย่างเหมาะสมที่สุด ลูกค้าที่เลือกซื้อเครื่องยนต์ที่ผ่านการปรับสภาพจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าในราคาที่ลดลง ในขณะเดียวกันพวกเขายังมีส่วนในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย” ลาส์ แฟนส์ค็อก อธิบาย

เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตเครื่องยนต์รถบรรทุกใหม่ กระบวนการปรับสภาพเครื่องยนต์นั้นใช้พลังงานต่ำกว่าถึง 85% และลดการสิ้นเปลืองวัตถุดิบได้ถึง 80% ลาส์ แฟนส์ค็อกเชื่อมั่นว่าประโยชน์ในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้างจะกระตุ้นความต้องการในการใช้งานอะไหล่ปรับสภาพให้มากขึ้น

ชิ้นส่วนฝาสูบจะถูกตรวจสอบด้วยผงแม่เหล็กและโคมไฟเพื่อรับรองว่าไม่มีรอยร้าวใดๆ เมื่อใช้แสงไฟสีเขียวจะเห็นรอยร้าวได้อย่างชัดเจน

“เราตระหนักดีว่าทรัพยากรธรรมชาติบนโลกนั้นมีอยู่อย่างจำกัดและต้นทุนของวัตถุดิบก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ลูกค้าของเราก็เรียกร้องมากขึ้นในแง่การทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีความยั่งยืนและสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้” เขากล่าว 

เพื่อให้เราสามารถนำส่วนประกอบหลักอย่างระบบเกียร์และเครื่องยนต์กลับมาปรับสภาพได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการวางแผนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ด้วยเหตุนี้เอง โรงงานในเฟล็นจึงร่วมมือกับแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างใกล้ชิด โดยแบ่งปันข้อมูลของพวกเขากับโครงการตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่ม 

“การเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อให้พร้อมรองรับการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร ลูกค้าของเรา และสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล” ลาส์ แฟนส์ค็อก กล่าว

 

การเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อให้พร้อมรองรับการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร ลูกค้าของเรา และสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล
โดยรวมแล้ว วอลโว่ ทรัคส์มีอะไหล่แลกเปลี่ยนสำหรับให้บริการแก่ลูกค้าจำนวน 40 รายการ โดยมีทุกอย่างตั้งแต่ตัวกรองและปั๊ม ไปจนถึงระบบเกียร์และเครื่องยนต์

โรงงานในเมืองเฟล็น

40 – จำนวนของอะไหล่แลกเปลี่ยนที่วอลโว่ ทรัคส์ให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีทุกอย่างตั้งแต่ตัวกรองและปั๊ม ไปจนถึงระบบเกียร์และเครื่องยนต์

85% – ปริมาณการใช้พลังงานที่ลดลงเมื่อมีการนำเครื่องยนต์รถบรรทุกมาปรับสภาพ เปรียบเทียบกับการผลิตใหม่ 

80% – ปริมาณการใช้วัตถุดิบที่ลดลงเมื่อมีการนำเครื่องยนต์รถบรรทุกมาปรับสภาพ เปรียบเทียบกับการผลิตใหม่ 

90% – ระดับของการรีไซเคิลภายในเครื่องยนต์รถบรรทุกเก่า 

57 – จำนวนชั่วโมงโดยเฉลี่ยที่ต้องใช้เพื่อการปรับสภาพเครื่องยนต์รถบรรทุก 

150–200 – จำนวนของรุ่นเครื่องยนต์รถบรรทุกวอลโว่ ทรัคส์ที่ต่างกัน ซึ่งมีการนำมาปรับสภาพ 

210 – จำนวนพนักงาน:

27,000 ตร.ม. – ขนาดพื้นที่รวมของโรงงาน

Related News

Latest Press Release

Latest Press Release